วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มารยาทในการฟัง

>>>อันนี้เป็นเรื่องที่ทุกๆคนก็รู้อยู่แก่ใจแต่บางครั้งก็ทำไม่ได้ เลยอยากเตือนสติกันสักหน่อยน้าา^^

ผู้มีมารยาท ในการฟังควรปฏิบัติตน ดังนี้

1. เมื่อฟังอยู่เฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรฟังโดยสำรวมกิริยามารยาท ฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อย และตั้งใจฟัง
2. การฟังในที่ประชุม ควรเข้าไปนั่งก่อนผู้พูดเริ่มพูด โดยนั่งที่ด้านหน้าให้เต็มก่อนและควรตั้งใจฟังจนจบเรื่อง
3. จดบันทึกข้อความที่สนใจหรือข้อความที่สำคัญ หากมีข้อสงสัยเก็บไว้ถามเมื่อมีโอกาสและถามด้วยกิริยาสุภาพ เมื่อจะซักถามต้องเลือกโอกาสที่ผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม หรือยกมือขึ้นขออนุญาตหรือแสดงความประสงค์ในการซักถาม ถามด้วยถ้อยคำสุภาพ และไม่ถามนอกเรื่อง
4. มองสบตาผู้พูด ไม่มองออกนอกห้องหรือมองไปที่อื่น อันเป็นการแสดงว่าไม่สนใจเรื่องที่พูด และไม่เอาหนังสือไปอ่านขณะที่ฟัง หรือนำอาหารเครื่องดื่มเข้าไปรับประทานระหว่างฟัง
5. ฟังด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเองกับผู้พูด แสดงสีหน้าพอใจในการพูด ไม่มีแสดงกิริยาก้าวร้าว เบื่อหน่าย หรือลุกออกจากที่นั่งโดยไม่จำเป็นขณะฟัง
6. ฟังด้วยความสุขุม ไม่ควรก่อความรำคาญให้บุคคลอื่น ควรรักษามารยาทและสำรวมกิริยา ไม่หัวเราะเสียงดังหรือกระทืบเท้าแสดงความพอใจหรือเป่าปาก
7. ฟังด้วยความอดทนแม้จะมีความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้พูดก็ควรมีใจกว้างรับฟังอย่างสงบ
8. ไม่พูดสอดแทรกขณะที่ฟัง ควรฟังเรื่องให้จบก่อนแล้วค่อยซักถามหรือแสดงความคิดเห็น
9. ควรให้เกียรติวิทยากรด้วยการปรบมือ เมื่อมีการแนะนำตัวผู้พูด ภายหลังการแนะนำ และเมื่อวิทยากร พูด จบ


รู้สึกว่าเดี๋ยวนี้
คนเราไม่ค่อยมีมารยาทในการฟังกันสักเท่าไหร่
1. ในห้องเรียน ไม่ฟังอาจารย์สอน แถมยังเล่นกันอีก (อันนี้เราเป็น)
2. เพื่อนคุยกกันอยู่เราไปพูดแทรก อันนี้อาจไม่เท่าไหร่ ถ้าเราสนิทกัน แต่บางทีคุยกับเพื่อนในเรื่องที่สำคัญๆ มีคนมาพูดแทรกอาจลืม หรือความลับแพร่งพราย


ปล. โพสเรื่องนี้แก้ตัวอาทิตย์ที่แล้วที่ไม่ได้โพสนะจ๊ะ

1 ความคิดเห็น:

  1. แล้ว พวกเรา ฝึกการเป็นผู้ฟัง ที่ดี แล้ว หรือยังจ้า

    ตอบลบ