วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พื้นฐานของเทคโนโลยี Grid Computing

พื้นฐานของเทคโนโลยี Grid Computing กริด(Grid): มีความหมายแรก คือ ตารางหรือตะแกรงหรือตาข่าย เรารู้จักกันดี เช่น ตาราง Excell ตาข่ายร่างแห ตารางหมากรุก ตารางหมากฮอร์ส โดยถ้าพิจารณา 2 ตารางหลังนี้ จะมีอุปกรณ์การเล่น(ถือว่าเป็นทรัพยากร)และมีวิธีการเล่น(process)ต่างกัน ซึ่งตารางหมากรุก และตารางหมากฮอร์ส จะมีเส้นทางการเดินทรัพยากร หรือเรียกว่าเส้นทางเดินหมากที่เชื่อมโยงติดต่อถึงกันระหว่างจุดต่อจุดรวมกันเป็น เครือข่ายหรือตาข่ายแต่ละจุดหรือช่อง(cell)ของตารางใดๆ จะกำหนดให้เป็นหนึ่งแฟลตฟอร์ม ถ้าจะบังคับทางเดินทรัพยากรหรือเดินหมากไปมา(distribute)ระหว่างแฟลตฟอร์มก็จะมีวิธีการเดินตาม process ที่ได้กำหนดไว้ สามารถกำหนดการเดินหมากให้กระโดดจากแฟลตฟอร์มหนึ่งไปยังอีกแฟลตฟอร์มหนึ่งที่อยู่ห่างไกลได้ ซึ่งผู้เล่นหรือ user หรือ End User จะต้องเรียนรู้ และเข้าใจวิธีการ(Process)

กริด(Grid): มีบัญญัติความหมายไว้อีกอย่างว่า คือระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งลักษณะที่เราเห็นก็คือหากผู้ใช้(user) ต้องการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ เช่น ตู้เย็น ทีวี ก็เพียงแค่เราเสียปลั๊กของอุปกรณ์นั้นเข้ากับเต้าเสียบที่ตำแหน่งต่างๆ ตามกำหนดไว้ในบ้านเรือนอุปกรณ์ไฟฟ้าก็จะได้รับพลังงานจากกระแสไฟฟ้านั้น เพื่อเปลียนแปลงรูปแบบให้ผู้ใช้ได้บริโภคตามวัตถุประสงค์ โดยทุกๆ ครัวเรือน สามารถใช้กระแสไฟฟ้าจากแหล่งทรัพยากรเดียวกันได้ คือจากแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น เขื่อน หรือโรงผลิตไฟฟ้านั่นเอง

คลัสเตอร์(Cluster): มีความหมายกลางๆ ว่า เป็นกลุ่มคนหรือกลุ่มสิ่งของที่อยู่รวมกันเป็นกระจุกหรือหนาแน่น อยู่บนขอบเขตพื้นที่จำกัดในแฟลตฟอร์มเดียวกัน จะติดต่อเชื่อมโยงหรือประสานงานทรัพยากรทำงานร่วมกันได้เฉพาะในแฟลตฟอร์มเดียวกัน หรือสถานที่เดียวกันเท่านั้น เช่น การนำคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง(แต่ละเครื่องอาจจะมี CPU มากกว่า 2 ตัวขึ้นไป) ที่ไม่ถูกใช้งานบางช่วงเวลาหรือไม่ได้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่มาต่อรวมกันให้ทำงานตามวัตถุประประสงค์ของมหาวิทายลัยหนึ่งๆ ก็ถือว่าเป็น Cluste rหนึ่งของมหาวิทยาลัยนั้นๆ เป็นต้น

คอมพิวติ้ง(Computing): มีความหมายว่า คือการคำนวณ หรือการประมวลผล ถ้ามองทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ จะเป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล โปรแกรมที่รับเข้าไปซึ่งเข้าใจกันดีว่าเป็นการประมวลผลข้อมูลคอมพิวเตอร์นั่นเอง

กริดคอมพิวติ้ง(Grid Computing) : เป็นเทคโนโลยี(Grid Technology) หรือนวัตกรรม(Innovation) ที่ได้ผ่านการวิจัยและพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ระบบทำการคำนวณหรือ ประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อน ด้วยสมรรถนะสูง โดยได้จัดเอาทรัพยากรด้านคำนวณหรือทรัพยากรประมวลผลด้านคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ มาทำการต่อเชื่อมโยงให้ถึงกัน ให้ทำงานร่วมกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่เพียงระบบเดียว ในรูปแบบของ Grid เพื่อทำการคำนวณหรือประมวลผลข้อมูลพร้อมกันในเวลาเดียวกัน โอนถ่ายข้อมูลระหว่างกันไม่ว่าทรัพยากรดังกล่าวจะมีลักษณะแตกต่างกัน รุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ไม่ได้ใช้งานบางช่วงเวลา หรือไม่ถูกใช้งาน จะอยู่ใน Cluster เดียวกัน หรืออยู่คนละ Cluster อยู่ในสถานที่คนละแห่งที่ห่างไกลกันแค่ไหน ก็สามารถจะทำการประมวลผลร่วมกันได้ โดยระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ระบบเดียวที่ได้ดังกล่าวนี้จะทำงานเสมือนเป็น ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่เครื่องเดียวที่มีราคาต้นทุนต่ำ ประมวลผลข้อมูลตามแบบของ Grid Computing คือจัดให้ประมวลผลแบบขนาน(Parallel Processing หรือ Parallel Computing)เพื่อให้ทำงานพร้อมกัน หากส่วนใดในระบบขัดข้องหรือไม่ทำงาน ระบบก็ยังทำงานต่อไปได้เพราะมีซอฟต์แวร์กลางพิเศษช่วยจัดการดูแลตรวจสอบสถานะของระบบกริดตลอดเวลา ซึ่งเรียกว่า Middleware

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)

นักวิเคราะห์ระบบ

• ผู้ที่ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและความต้องการขององค์กรในการกำหนดบุคคล (People) ข้อมูล (Data) การประมวลผล (Process) การสื่อสาร (Communication) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ว่าจะจัดการหรือปรับปรุงอย่างไรเพื่อสามารถพัฒนาระบบธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้
• บุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ โดยศึกษาปัญหา รวบรวมความต้องการของระบบวิเคราะห์ระบบงานธุรกิจ ตรวจสอบว่าจะนำระบบสารสนเทศมาใช้หรือไม่ หรือควร ปรับปรุงระบบเดิมเขียนข้อกำหนดและรายละเอียด (Specification) ของระบบใหม่ เลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใดที่เหมาะสมกับองค์กร มีการวิเคราะห์ต้นทุนว่าคุ้มกับการ ที่จะลงทุนเปลี่ยนระบบใหม่หรือไม่ หรือมีทางใดที่จะช่วยให้ระบบสามารถสนับสนุน ความต้องการองค์กรได้เป็นอย่างดี

บทบาทหน้าที่ของ นักวิเคราะห์ระบบ (Systems Analyst: SA)
- นักวิเคราะห์ระบบจะเหมือนกับเป็นที่ปรึกษา บุคคลที่จะทำหน้าที่นี้ได้ดีควรเป็นบุคคลในองค์กรเพราะจะรู้ถึงลักษณะขององค์กรได้ดีเนื่องจากจะรู้โดยละเอียดว่า การทำงานในระบบนั้น ๆ เป็นอย่างไร และอะไรคือ ความต้องการของระบบ ถ้าเป็นบุคคลภายนอกองค์กร ถึงแม้จะไม่รู้ละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจได้ดี แต่ก็อาจจะมีมุมมองใหม่ๆที่คนในองค์กรไม่มี และสามารถวิเคราะห์ระบบได้เช่นเดียวกัน โดยการศึกษาสอบถามผู้ใช้และวิธีการอื่น ๆ
- นักวิเคราะห์ระบบจะเหมือนกับเป็นส่วนช่วยสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญต่างๆทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ควรมีความรู้ด้าน Hardware, software, network และจะมองเห็นข้อดีข้อเสีย ของระบบได้เป็นอย่างดี
- นักวิเคราะห์ระบบจะเหมือนกับเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการทำระบบใหม่ จะทำให้การทำงานของผู้ใช้งานบางคนต้องเปลี่ยนไป นักวิเคราะห์ระบบ ก็จะทำหน้าที่เป็นคนที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดี หรือผลทางบวกในองค์กร

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

Misa กีตาร์ดิจิตอลไร้สาย (ตัวจริง)


หลายคนอาจจะเคยรู้จัก หรือแม้แต่เคยสัมผัส "กีตาร์มิดี้" (Midi Guitar) ที่สามารถต่อพ่วงกับซินธีไซเซอร์ หรือคอมพิวเตอร์ที่มีการ์ดเสียง (Sound card) โดยเมื่อจับคอร์ด และดีดสายของกีตาร์ รหัสมิดี้จะถูกส่งไปตามสายสัญญาณ เพื่อเล่นโน้ตเพลงตามคอร์ด ความยาว และระดับความดังของเสียงตามแรงของสายที่สั่น ซึ่งสามารถเลือกเสียงที่เล่นออกมาได้ตามต้องการ แต่สำหรับ Misa กีตาร์ดิจิตอลรุ่นนี้ มันไม่มีสายสักเส้น

Misa Digital Guitar เป็นอุปกรณ์ควบคุมมิดี้ที่ออกแบบให้เหมือนกีตาร์ไฟฟ้า 24 เฟรท และจอสัมผัสขนาดใหญ่ บริเวณที่ใช้ดีดสายกีตาร์ แต่เนื่องจาก Misa ไม่ได้ใช้หลักการดีไซน์กีตาร์แบบเดิมๆ เนื่องจากมันไม่มีสายให้ดีดเลยสักเส้น แต่ใช้การสัมผัสหน้าจอมัลติทัชด้วยนิ้วแทน ส่วนที่เป็นสายบนคอกีตาร์ก็จะใช้เป็นเซ็นเซอร์ที่ทำงานแบบสวิตช์เปิด-ปิด เพื่อให้ระบบสามารถสแกนค่าการกดคอร์ดที่จับด้วยนิ้วต่างๆ ได้นั่นเอง ส่วนการเล่นจะลักษณะคล้ายการใช้นิ้วทั้ง 5 ตบสาย (สัมผัสบนหน้าจอขนาดใหญ่) ตามโน้ตทีต้องการเล่น ซึ่งลักษณะจะคล้่ายกับการเล่นกีตาร์ไฟฟ้าจริงๆ


Misa Digital Guitar ทำงานด้วยเคอเนล (Kernel) ของ Linux 2.6.31 (Gentoo) ในการประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการจับคอร์ด และตบสาย เพื่อส่งโค้ดมิดี้เข้าไปยังคอมพิวเตอร์ให้เล่นเสียงโน้ตออกมาตามนั้น

ปล.เราอัพโหลดวิดีโอมาให้ดูไม่ได้อ่า
ใครอยากเหนวิธีเล่นลองดูตามลิ้งค์ดูน้า
http://www.youtube.com/watch?v=M2eiP12hQQY&feature=player_embedded

โชว์ภาพ 3 มิติ แก๊ดเจ็ตใหม่ บัตรประชาชนอนาคต


บริษัทเยอรมนีคิดเด็ด เผยแก๊ดเจ็ตตัวใหม่ บัตรประจำตัวประชาชนแห่งอนาคต แสดงภาพผู้ถือบัตรแบบ 3 มิติ สามารถปรับซูม ใกล้-ไกล เพิ่มความสะดวกในการระบุตัวบุคคล...


แก๊ดเจ็ตใหม่ บัตรประจำตัวประชาชน 3 มิติ เปิดตัวให้ยลโฉมกันครั้งแรกในงาน CES ที่มหานครลาสเวกัส รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเว็บไซต์ coolest-gadgets ระบุว่าบัตรดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทของเยอรมนี ความพิเศษของบัตรดังกล่าว คือการฝังหน้าจอ OLED และมีรหัส RFID ระบุอยู่ภายใน และเมื่อถึงเวลาใช้งาน โดยการวางทาบกับจอแสดงผล จะปรากฏภาพใบหน้าของผู้ถือบัตรแบบ 3 มิติ

นอกจากมองเห็นใบหน้าเป็นแบบ 3 มิติแล้ว ยังสามารถปรับภาพ ใกล้-ไกล ได้ตามต้องการ สามารถอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบ หรือระบุตัวบุคคลได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

*น่าสนใจดีนะ ต่อไปเห็นได้ทุกมุมเลย เรื่องปลอมแปลงบัตรคงยากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

เกวียนหุ่นยนต์ลาก

บทความนี้ก็ไม่เกี่ยวกะการวิเคราะห์ระบบโดยตรงอีกแล้วครับ
แต่ บทความนี้ อยากจะสื่อให้เห็นว่าคนเราถ้าใจรัก เรื่องเงินทอง
ที่จะต้องเสียไป รึเรื่องอื่นๆ ก็เป็นเรื่องเล็กครับ



สิ่งประดิษฐ์หน้าเชยนี้ เป็นของชายชาวจีนเมืองใกล้ๆกับปักกิ่ง นามว่า Wu Yulu

ที่พอมองเห็นก็เพียงแต่ว่า มันสามารถขยับขาได้ ลากเกวียนที่มีคนนั่ง 1 คน (2 คนจะไหวมั้ยหว่า?) คงมีมอเตอร์+แบต ติดอยู่ในหุ่นตรงพุง?

ข้อมูลที่เล่าๆ กันในบล็อกต่างๆ บอกไว้ว่า หวู เป็นคนที่ชอบประดิษฐ์หุ่นยนต์ลักษณะนี้มากเลย เงินที่หามาได้ ก็เอามาใช้ประดิษฐ์ของเล่นเหล่านี้ จนสถานะทางการเงินไม่ค่อยจะดีนัก

อันนี้คลิปของเขาครับ


---------------------------------
หากรักจริง เงินทองก็เรื่องเล็ก

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ภาษาอังกฤษแบบโครงสร้าง (Structured English)

Structured English คือ การนำภาษาอังกฤษมาเขียนเพื่อบ่งบอกรายละเอียดการทำงานของ Process ที่ปรากฎอยู่บน DFD โดยมีรูปแบบการเขียนใกล้เคียงกับไวยากรณ์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม
รูปแบบของการเขียน Structured English จะมีลักษณะคล้ายกับรูปแบบของการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) ที่จำแนกมาจากการทำงานของโปรแกรม ซึ่งมี 3 ลักษณะดังนี้
1. แบบตามลำดับ (Sequence)
2. แบบมีเงื่อนไข (Conditional หรือ Decision Stucture)
3. แบบการทำซ้ำ (Iteration หรือ Repetition)
แบบตามลำดับ (Sequence)
การทำงานแบตามลำดับ (Sequence) มีลักษณะการทำงานเป็นไปตามลำดับขั้นตอนหรือกิจ
กรรม ไม่มีการกระโดดข้ามไปทำขั้นตอนหรือกิจกรรมอื่นก่อน ดังนั้นในการเขียนคำอธิบาย Process ด้วยการใช้ Structured English แบบตามลำดับนี้ควรจะมีลักษณะที่เป็นประโยคที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานเดียวอย่างชัดเจน ไม่ควรเป็นประโยครวมที่มีลักษณะเป็นการทำงานซ้อนกันหรือประโยคมีความคลุมเครือ
ตัวอย่างการเขียนแบบตามลำดับ เช่น
Read Record
Calculate Gross Pay = HOURS WORKED*HOUR WAGE
Print Gross Pay
กิจกรรมแรกที่ทำคือ Read Record คืออ่านข้อมูลเข้ามา เพื่อได้ข้อมูลแล้วจึงจะสามารถทำการคำนวณ Gross Pay ได้ และสั่งพิมพ์ค่า Gross Pay เป็นลำดับสุดท้าย
แบบมีเงื่อนไข (Conditional /Decision Structure)
เป็นการทำงานที่มีการกำหนดการกระทำหรือกิจกรรมการทำงานแตกต่างกันไปตามแต่ละเงื่อนไข ถ้าข้อมูลที่เข้าสู่ Process นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขใด ให้ทำงานภายใต้สิ่งที่เงื่อนไขนั้นกำหนดไว้ โดยรูปแบบการเขียนคำอธิบาย Process โดยใช้ Structured English แบบมีเงื่อนไข แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. If-then-elseเป็นโครงสร้างการเขียนแบบมีเงื่อนไขโดยใช้ประโยค IF-THEN-ELSE มาช่วยในการอธิบาย
ลักษณะการทำงานที่จะเกิดการกระทำกิจกรรม (Action) ใดๆ ที่กำหนดไว้ได้ ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขที่ระบุไว้นั้นเป็นจริง แต่ถ้าเงื่อนไขนั้นเป็นเท็จจะต้องกระทำกิจกรรมอื่นที่กำหนดไว้ ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นเท็จนั้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
If Accept_Applicant then
Print Accepted Letters
Record Applicant_Data in Applicant_File
Else
Print Reject Letters
End If
หมายเหตุ โครงสร้างของการทำงานแบบมีเงื่อนไขด้วย IF-Then-Else นี้จะมีการกระทำกิจ
กรรมที่เป็นไปได้เพียงสองทางเท่านั้น คือ กระทำกิจกรรมหากเงื่อนไขนั้นเป็นจริง และกระทำกิจกรรมหากเงื่อนไขนั้นเป็นเท็จ
2. CASE
เป็นโครงสร้างการเขียนแบบมีเงื่อนไข ซึ่งจะใช้ในกรณีที่มีการกระทำกิจกรรมที่เป็นไปได้มากกว่าสองทาง โดยใช้คำว่า CASE เพื่อตรวจสอบแต่ละเงื่อนไขที่เป็นไปได้เหล่านั้น ด้วยรูปแบบที่ดูง่ายกว่าการใช้ IF-Then-Else If-Then-Else If-Then-Else ….หลายๆครั้ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
Select Case Item
Case 1 : if Grade <= 2.00 then
Reject Applicant
Case 2 : if Grade > 2.00 and Grade <= 3.50 then
Print Interview Letters
Case 3 : If Grade > 3.50 then
Print Interview Letters
Record Application_Data
End Select
แบบการทำซ้ำ (Iteation/Repetition)
เป็นโครงสร้างของการเขียนที่มีลักษณะการกระทำกิจกรรมซ้ำไปเรื่อยๆ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ลักษณะการทำซ้ำสามารถเขียนคำอธิบาย Process ด้วย Structured English ได้ดังนี้
1. Do-While
เป็นการกระทำกิจกรรภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจริงเท่านั้น จึงทำกิจกรรมเหล่านั้นซ้ำ จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ จึงหยุดประมวลผล ดังตัวอย่าง
Read Employee Record
Do No End-of-File while
Print Employee Recorde
End Do
จากตัวอย่างจะเห็นว่ามีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริง จึงสามารถเข้ามาทำกิจกรรมภายใต้เงื่อนไขซ้ำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเงื่อนไขนั้นเป็นเท็จจึงจะไม่ทำกิจกรรมในเงื่อนไข
2. Do-Until
เป็นการกระทำกิจกรรมใดๆ ซ้ำจนกระทั่งเงื่อนไขนั้นเป็นจริง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
Do
Read Employee Record
Print Employee Record
Until End-of-File
จากตัวอย่างจะเห็นว่า มีการกระทำกิจกรรมก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงมีการตรวจสอบเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ หากเป็นจริงตามเงื่อนไขจึงหยุดกระทำกิจกรรม

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

การวิเคราะห์ระบบ

การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ ( System Analysis and Design)
การวิเคราะห์และออกแบบระบบคือ วิธีการที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง หรือระบบย่อยของธุรกิจ นอกจากการสร้างระบบสารสนเทศใหม่แล้ว การวิเคราะห์ระบบช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยก็ได้ การวิเคราะห์ระบบคือ การหาความต้องการ ( Requirements) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามาในระบบและการออกแบบก็คือ การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็นแบบแผนหรือเรียกว่าพิมพ์เขียว ในการสร้างระบบสารสนเทศนั้นให้ใช้ในงานได้จริง ผู้ที่ทำหน้านี้ก็คือ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ( System Analysis : SA )

คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมและประมวลผลให้กับผู้ใช้โดยให้ประโยชน์ต่อผู้ใช้คือ ความรวดเร็วและความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญต่อการบริหารของธุรกิจในปัจุบันที่มีการแข่งขันสูง ผู้ใช้ ( Users ) จึงเป็นผู้กำหนดปัญหาและแนวทางของระบบงานที่นำมา แก้ไขซึ่งปัญหาแต่ผู้ใช้เองไม่ทราบวิธีจะนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา หรือช่วยเหลือในการบริหาร ในทางตรงกันข้ามโปรแกรมเมอร์ ( programmers)และช่างเทคนิค ( technicians)เป็นผู้ที่สามารถจะใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์และป้อนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ต้องการ แต่โปรแกรมเมอร์หรือช่างเทคนิคมักจะไม่เข้าใจถึงระบบธุรกิจมากนัก ดังนั้น ช่องว่างระหว่างนักธุรกิจหรือระบบงานในหน่วยงานต่างๆ กับโปรแกรมเมอร์หรือกับช่างเทคนิคจึงอาจเกิดขึ้นได้
นักวิเคราะห์ระบบจึงทำหน้าที่เป็นผู้สมานช่องว่างนี้ นักวิเคราะห์ระบบเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่จะนำเอาความเข้าใจและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาใช้ ในการพัฒนาระบบงานข้อมูลเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับงานในหน่วยงานต่างๆ

บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ
นักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของนักธุรกิจ โดยนำเอาปัจจัย 3 ประการ คือ คน ( people ) วิธีการ ( method ) และคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ( computer technology ) ใช้ในการปรับปรุงหรือแก้ปัญหาให้กับนักธุรกิจ
เมื่อได้มีการนำเอาพัฒนาการทางเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาใช้ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรับผิดชอบถึงการกำหนดลักษณะของข้อมูล ( data ) ที่จะจัดเก็บเข้าสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ การหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลและระยะเวลาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้หรือธุรกิจ ( business users )
นักวิเคราะห์ระบบไม่ได้เพียงวิเคราะห์หรือดีไซน์ระบบงานเท่านั้น หากแต่ยังขายบริการทางด้านระบบงานข้อมูล โดยนำเอาประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ควบคู่กันไปด้วย
จากบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ทั้งทางภาคธุรกิจหรือการดำเนินงาน ในหน่วยงานต่างๆ และคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน นักวิเคราะห์ระบบโดยส่วนใหญ่สามารถที่จะดีไซน์ระบบงานและเขียนโปรแกรมขึ้นได้ด้วยตัวเอง ส่วนนี้เองกลับทำให้บุคคลภายนอกเกิดความสับสนระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบ