วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ภาษาอังกฤษแบบโครงสร้าง (Structured English)

Structured English คือ การนำภาษาอังกฤษมาเขียนเพื่อบ่งบอกรายละเอียดการทำงานของ Process ที่ปรากฎอยู่บน DFD โดยมีรูปแบบการเขียนใกล้เคียงกับไวยากรณ์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม
รูปแบบของการเขียน Structured English จะมีลักษณะคล้ายกับรูปแบบของการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) ที่จำแนกมาจากการทำงานของโปรแกรม ซึ่งมี 3 ลักษณะดังนี้
1. แบบตามลำดับ (Sequence)
2. แบบมีเงื่อนไข (Conditional หรือ Decision Stucture)
3. แบบการทำซ้ำ (Iteration หรือ Repetition)
แบบตามลำดับ (Sequence)
การทำงานแบตามลำดับ (Sequence) มีลักษณะการทำงานเป็นไปตามลำดับขั้นตอนหรือกิจ
กรรม ไม่มีการกระโดดข้ามไปทำขั้นตอนหรือกิจกรรมอื่นก่อน ดังนั้นในการเขียนคำอธิบาย Process ด้วยการใช้ Structured English แบบตามลำดับนี้ควรจะมีลักษณะที่เป็นประโยคที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานเดียวอย่างชัดเจน ไม่ควรเป็นประโยครวมที่มีลักษณะเป็นการทำงานซ้อนกันหรือประโยคมีความคลุมเครือ
ตัวอย่างการเขียนแบบตามลำดับ เช่น
Read Record
Calculate Gross Pay = HOURS WORKED*HOUR WAGE
Print Gross Pay
กิจกรรมแรกที่ทำคือ Read Record คืออ่านข้อมูลเข้ามา เพื่อได้ข้อมูลแล้วจึงจะสามารถทำการคำนวณ Gross Pay ได้ และสั่งพิมพ์ค่า Gross Pay เป็นลำดับสุดท้าย
แบบมีเงื่อนไข (Conditional /Decision Structure)
เป็นการทำงานที่มีการกำหนดการกระทำหรือกิจกรรมการทำงานแตกต่างกันไปตามแต่ละเงื่อนไข ถ้าข้อมูลที่เข้าสู่ Process นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขใด ให้ทำงานภายใต้สิ่งที่เงื่อนไขนั้นกำหนดไว้ โดยรูปแบบการเขียนคำอธิบาย Process โดยใช้ Structured English แบบมีเงื่อนไข แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. If-then-elseเป็นโครงสร้างการเขียนแบบมีเงื่อนไขโดยใช้ประโยค IF-THEN-ELSE มาช่วยในการอธิบาย
ลักษณะการทำงานที่จะเกิดการกระทำกิจกรรม (Action) ใดๆ ที่กำหนดไว้ได้ ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขที่ระบุไว้นั้นเป็นจริง แต่ถ้าเงื่อนไขนั้นเป็นเท็จจะต้องกระทำกิจกรรมอื่นที่กำหนดไว้ ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นเท็จนั้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
If Accept_Applicant then
Print Accepted Letters
Record Applicant_Data in Applicant_File
Else
Print Reject Letters
End If
หมายเหตุ โครงสร้างของการทำงานแบบมีเงื่อนไขด้วย IF-Then-Else นี้จะมีการกระทำกิจ
กรรมที่เป็นไปได้เพียงสองทางเท่านั้น คือ กระทำกิจกรรมหากเงื่อนไขนั้นเป็นจริง และกระทำกิจกรรมหากเงื่อนไขนั้นเป็นเท็จ
2. CASE
เป็นโครงสร้างการเขียนแบบมีเงื่อนไข ซึ่งจะใช้ในกรณีที่มีการกระทำกิจกรรมที่เป็นไปได้มากกว่าสองทาง โดยใช้คำว่า CASE เพื่อตรวจสอบแต่ละเงื่อนไขที่เป็นไปได้เหล่านั้น ด้วยรูปแบบที่ดูง่ายกว่าการใช้ IF-Then-Else If-Then-Else If-Then-Else ….หลายๆครั้ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
Select Case Item
Case 1 : if Grade <= 2.00 then
Reject Applicant
Case 2 : if Grade > 2.00 and Grade <= 3.50 then
Print Interview Letters
Case 3 : If Grade > 3.50 then
Print Interview Letters
Record Application_Data
End Select
แบบการทำซ้ำ (Iteation/Repetition)
เป็นโครงสร้างของการเขียนที่มีลักษณะการกระทำกิจกรรมซ้ำไปเรื่อยๆ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ลักษณะการทำซ้ำสามารถเขียนคำอธิบาย Process ด้วย Structured English ได้ดังนี้
1. Do-While
เป็นการกระทำกิจกรรภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจริงเท่านั้น จึงทำกิจกรรมเหล่านั้นซ้ำ จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ จึงหยุดประมวลผล ดังตัวอย่าง
Read Employee Record
Do No End-of-File while
Print Employee Recorde
End Do
จากตัวอย่างจะเห็นว่ามีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริง จึงสามารถเข้ามาทำกิจกรรมภายใต้เงื่อนไขซ้ำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเงื่อนไขนั้นเป็นเท็จจึงจะไม่ทำกิจกรรมในเงื่อนไข
2. Do-Until
เป็นการกระทำกิจกรรมใดๆ ซ้ำจนกระทั่งเงื่อนไขนั้นเป็นจริง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
Do
Read Employee Record
Print Employee Record
Until End-of-File
จากตัวอย่างจะเห็นว่า มีการกระทำกิจกรรมก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงมีการตรวจสอบเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ หากเป็นจริงตามเงื่อนไขจึงหยุดกระทำกิจกรรม

1 ความคิดเห็น: